ภัยร้ายของการใช้เทคโนโลยีที่ไม่พึงประสงค์

อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อบันเทิงที่รวดเร็วและเปิดกว้างเสรี แต่ “จุดอ่อน” ของโลกออนไลน์ที่กลายเป็นเวทีของ การ “ทำร้าย” ผ่านข้อมูลในลักษณะ แฉ ประจาน หรือ ใส่ร้าย ได้ก่ออิทธิพลมืดในสังคม

ตัวอย่างเหตุการณ์ใหม่ๆ มีทั้งการแพร่คลิปแอบถ่าย นักร้องสาวโฟร์-มด มาจน ถึงคลิปส่วนตัวของดาราหนุ่ม อ้น สราวุฒิ นอกจากนี้ ยังมีกรณีในประเทศของเอเชีย อย่างภาพลับ เฉินก้วนซี ซูเปอร์ สตาร์ฮ่องกง คลิปสวาทนางเอกสาวเวียดนาม เหวียน ถวี่ลิงห์ และเว็บบอร์ดแพร่ข่าวเม้าธ์โจมตีนางเอกเกาหลีใต้ ชอย จินซิล ที่กลายเป็นปมให้ดาราสาวฆ่าตัวตาย

ไม่เพียงดาราเท่านั้น คนธรรมดาทั่วไปก็ถูก “เล่นงาน” ในลักษณะ เดียวกัน แม้ไม่ได้เป็นข่าวแพร่สะพัด แต่ก็ถูก “อาวุธ” ของเทคโนโลยีนี้ทำร้ายบาดเจ็บเช่นกัน

ที่สำคัญก็คือ เหยื่อส่วนใหญ่เป็น “ผู้หญิง”

พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้หญิงต้องศึกษาหา ความรู้เรื่องไอทีบ้าง ว่ามีอะไรที่นำมาสู่ความเสี่ยงบ้าง เวลาที่ไปไหน ต้องดูว่าเป็นสถานที่อโคจรหรือไม่ สภาพแวดล้อมไว้ใจได้ไหม บุคคลที่ไปด้วยเป็นอย่างไร เราเองต้องใช้วิจารณญาณ

ภาพโป๊หรือคลิป โดยมากเป็นเรื่องที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นและท้าทายความคิดในคนบางวัย ทำให้อยากดูและที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด ขณะเดียวกัน กระแสข่าวทำให้คลิปมีสีสันมากขึ้น คนที่ไม่รู้ก็อยากดู เพราะจะได้อินเทรนด์ตามสมัยแต่ดูแล้วก็ผ่านไป ไม่มีอะไร แต่ถ้าข่าวนำเสนอนานๆ คลิปเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่

ขณะเดียวกัน บ้านเมืองคงต้องดูแลสิ่งเหล่านี้ ค่านิยมทางสังคม การทำร้ายด้วยวิธีการแบบนี้ ทั้งการถ่ายและการเผยแพร่ ถ้าเป็นตัวเรา คนในครอบครัวหรือคนที่เรารักแล้วจะรู้สึกอย่างไรความเห็นอกเห็นใจก็น่าจะเกิดขึ้น

 

ใส่ความเห็น