เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่

 

 

การสื่อสารผ่านดาวเทียม

(satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล
การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่ง
คงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดิน
แห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้
การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ
ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

  ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่าง
จังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ

 

เทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยีทางการแพทย์

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีเป็นอันดับต้นๆ

โรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบแคบหรือถูกอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน เมื่อผู้ป่วยเกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และหากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart attack) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ยิ่งตรวจเจอโรคนี้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่านั้น

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Electrocardiography (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) Echocardiography (Ultrasound heart) Magnetic resonance imaging (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multi detector computed tomography) หรือ การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) ซึ่งถือเป็น Gold Standard ในการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพราะเห็นพยาธิสภาพที่เกิดในหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน แต่วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่มีอาการน่าสงสัย เพราะจะต้องสอดใส่อุปกรณ์การตรวจเข้าไปภายในร่างกาย

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) จึงได้รับการพัฒนาอย่างมากจนเป็น Multi slice CT scan (MSCT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยนวัตกรรมล่าสุด คือ เครื่อง 256-slice multi-detector CT scan ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยความพร้อมด้านการแพทย์ระดับแนวหน้าผสานกับประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค วันนี้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่การตรวจรักษาโรคหัวใจแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด 256-slice multi-detector CT scan เครื่องแรกในประเทศไทย

256-slice multi-detector CT scan ได้รับการพัฒนาจากเครื่อง 64-slice CT scan ที่ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่าเครื่อง 64- slice CT scan จะสามารถใช้อย่างได้ผลและสะดวกขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งยังสามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นตัวพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน อนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ แต่เครื่อง 64-slice CT scan ก็ยังมีข้อจำกัดในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ

อ่านเพิ่มเติม

E-government

e-Government Thailand — Presentation Transcript

  • 1. e-Government  กับการบริการประชาชน โดย ดร .  ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เจ้าของโครงการ โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์   ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  ( เนคเทค ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
  • 2. ภาพรวมการนำเสนอ นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ  e-Government สถานการณ์การพัฒนาไอทีของไทย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก ของ แนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนา  ICT ควา ม หมายและวิสัยทัศน์ของ  e-Government บทบาทของรัฐที่จะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อก้าวสู่การเป็น  e-Government การปฏิรูประบบราชการ แนวคิดการให้บริการของภาครัฐต่อประชาชน
  • 3. ภาพรวมการนำเสนอ  ( ต่อ ) การดำเนินงาน  e-Government  Web Portal ลักษณะของผู้นำด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส ์ การดำเนินงาน   e-Government  ของต่างประเทศ โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
  • อ่านเพิ่มเติม

E-banking

E-Banking คือ Electronics Banking  คำว่า Banking คือ การทำธุระกรรมต่าง ๆ     ที่ต้องทำที่ธนาคาร เช่นโอนเงิน ตรวจสอบยอด เป็นต้น ส่วน E-Banking หรือ ธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ คือ การให้บริการทำธุระกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ อินเตอร์เนต  ในปัจจุบันธนาคารต่างๆมีบริการให้ลูกค้าของธนาคารเลือกใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต,อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, ธนาคาร ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ เอ็มแบงกิ้ง ธนาคารในมือถือ ซึ่งจะเลือกใช้แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ความสะดวกและความพึงพอใจในแต่ละบุคคล

อ่านเพิ่มเติม

E-procurement

E-PROCUREMENTคืออะไร

ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-Procurement)

คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ E-Catalog และการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้

ขั้นตอนของระบบ E-Procurement

1. ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog 2. เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List 3. จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site 4. ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP) 5. ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย 6. ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) 7. ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ 8. จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment

องค์ประกอบของระบบ E-Procurement

1. ระบบ E-Catalog เป็นมาตรฐานระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง (Suppliers) ที่มีคุณสมบัติในการทำธุรกรรมสามารถเข้ามาทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้
2. ระบบ e-RFP (Request for Proposal)/ e-RFQ (Request for Quotation) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลงราคา 3. ระบบ e-Auction แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 3.1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ราคาต่ำสุด 3.2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงานภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด

 

 

 

สวัสดีชาวคูซอด

สวัสดีชาวแดง-เหลือง บทความนี้เป็นบทความแรกของฉัน

ตัวอย่าง ข้อความ สีแดง

ตัวอย่างข้อความ สีเหลือง

การใส่ Bullet

– Unordered list อ่านเพิ่มเติม