เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G คืออะไร 
3G หรือ Third Generation  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต

 

3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น

เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี

      3G น่าสนใจอย่างไร
จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่

เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น

3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว ?Always On?

      คุณสมบัติหลักของ 3G คือ 

มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G
เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร

ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น

อ่านเพิ่มเติม

อุปกรณ์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

                1. เครื่องคอมพิวเตอร์

หน้าที่สำคัญที่สุดของระบบเครือข่ายก็คือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วย กัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดเดียวกันเช่น ในระบบเครือข่ายของเราอาจทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และเครื่องเมนเฟรม ก็ได้

               2. ทรัพยากรระบบ ( Resource )

ทรัพยากรของระบบเครือข่ายคืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายสามารถเรียก ใช้ได้ ทรัพยากรในระบบที่มีอยู่โดยทั่วไปคือ เครื่องพิมพ์ ทำให้ผู้ใช้ระบบเครือข่ายทุกคนสามารถส่งเอกสารออกพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ส่วน กลางนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องต่อเครื่องพิมพ์สำหรับทุกเครื่องในเครือข่าย ทรัพยากรอื่นๆได้แก่ เครื่องโทรสาร อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น เทปไดร์ฟ และฮาร์ดไดร์ฟ ฯลฯ

               3. สายเคเบิลสื่อสาร ( Cable )

สายเคเบิลสื่อสารใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และทรัพยากรระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย ข้อมูลหรือสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ต้นทางจะถูกส่งผ่านสายสื่อสารนี้ไป ยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง สายสื่อสารมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair ) สายโคแอกเชียล (Coaxial) และสายใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic ) เป็นต้น เราจะใช้สายชนิดใดขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทางที่เราต้องการส่งข้อมูล
           

           4. ตัวเชื่อมระบบ ( Connector )

ตัวเชื่อมระบบเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือ ข่ายสองระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ในระบบทั้งสองสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันหรือใช้ทรัพยากร ของอีกระบบได้ ตัวเชื่อมระบบที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ บริดจ์ ( Bridge ) และอุปกรณ์จัดเก็บเราเตอร์ ( Router )

    

                                        X บริดจ์                                                                        X เราเตอร์  

                 5. การ์ดเชื่อมเข้าเครือข่าย ( NIC : Network Interface Card )

คือ การ์ดซึ่งเป็นอุปกรณ์เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้ากับสายสื่อสาร และเป็นตัวควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับสายสื่อสารเพื่อเชื่อมเข้ากับเครือ ข่ายต่อไป

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้ หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

         1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมี อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายของคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องทำการเชื่อมต่อกัน โดยในการเชื่อมต่อจะมีสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก นอกจากนี้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังเป็นผลดีในกรณีที่ต้องการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั่วโลกโดยใช้เวลาเพียง น้อยนิด จากเดิมที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องใช้สื่อเก็บข้อมูลที่รับส่งกันภายนอก เช่น บันทึกลงแผ่นดิสก์แล้วไปส่งให้กับอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลามาก ยิ่งถ้าต้องการสื่อสารกันข้ามโลกยิ่งเป็นเรื่องลำบากและใช้เวลานานมาก แต่ในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านสายสัญญาณของระบบเครือข่ายนั้น ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ในเสี้ยววินาที

ทำไมต้องสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์?

เหตุผลหลักๆ ที่เป็นจุดประสงค์ในการสร้างเครือข่ายขึ้นมานั้น สรุปได้ดังนี้

  1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถือเป็นเหตุผลแรกเริ่มของการสร้างระบบเครือข่าย ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เนื่องจากในการทำงานนั้น ผู้ใช้นั้นมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่เสมอ ดังนั้น หากการส่งข้อมูลนี้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น งานต่างๆ ก็สามารถคืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่าย เป็นการส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณ ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้ภายในเสี้ยววินาที
  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกันความสามารถของระบบเครือข่ายอีกอย่างหนึ่งนั้น ก็คือ การที่เครื่องใดๆ ที่อยู่ในเครือข่าย สามารถใช้งานฮาร์ดแวร์ หรือ ซอฟท์แวร์ที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกัน (ขึ้นอยู่กับสิทธิในการใช้งาน) ตัวอย่างของการใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน เช่น การแชร์เครื่องพิมพ์ (Printer) โดยทุกเครื่องในเครือข่าย สามารถใช้งานเครื่องพิมพ์เครื่องนั้นได้โดยไม่จำเป็นต้องสลับกันใช้ ขอแค่เพียงเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย ก็สามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ได้ ส่วนการใช้ซอฟท์แวร์ร่วมกัน คือ ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถใช้ซอฟท์แวร์ หรือชุดโปรแกรมชุดเดียวกันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดมาตรฐานของซอฟต์แวร์ขึ้นมา ข้อดีคือ ทำให้การรับส่งไฟล์ การเปิดไฟล์ต่างๆ ทำได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะมีมาตรฐานของซอฟท์แวร์มาตรฐานเดียวกันนั่นเอง
  1. ความประหยัดสิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งหลังจากที่สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ก็คือ การที่องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก เช่น การแชร์เครื่องพิมพ์ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง การแชร์ซอฟต์แวร์ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์หลายชุด การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ทำให้ความจำเป็นของการติดต่อสื่อสารกันด้วยกระดาษลดน้อยลง แทนที่จะต้องส่งจดหมายเวียน หรือส่งเอกสาร อาจเปลี่ยนเป็นการส่งอีเมล์ไปแทน ช่วยประหยัดต้นทุนค่ากระดาษอีกด้วย
  2. อ่านเพิ่มเติม

หน่วยส่งออก

หน่วยส่งออก (Output Unit)

คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วย แสดงผล หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ คือ จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกันเพราะคอมพิวเตอร์ อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ บางอย่างเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล ซึ่งได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับจานแม่เหล็ก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น โดยจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ตามหน้าที่ในขณะที่ทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลัก คือ ถ้าเป็นการนำข้อมูลเข้ามาหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกอุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล แต่ถ้าเป็นการนำข้อมูลออกจากหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกว่าอุปกรณ์แสดงผล

1. หน่วยส่งออกชั่วคราว
1)จอภาพ (Monitor) คืออุปกรณ์ที่แสดงผลให้ผู้ใช้เห็นในเวลาที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และ ถือได้ว่าเป็นหน่วยส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยที่สุด การแสดงผลบนจอภาพเกิดจากการสร้างจุดจำนวนมากเรียงกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ประกอบกันเป็นรูปภาพหรือตัวอักษร จำนวนของจุดดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดความชัดเจนของภาพที่เห็นบนจอ     ในยุคต้นของไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พยายามนำของใช้ที่มีอยู่ประจำบ้านมาเป็นส่วนประกอบ เช่น นำเอาเครื่องรับโทรทัศน์มาใช้เป็นจอภาพสำหรับแสดงผล แต่ผลที่ได้ออกมาไม่เป็นที่พึงพอใจ จึงได้มีการผลิตจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจอภาพที่ผลิตในแต่ละยุคก็มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีจอภาพที่ใช้งานอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

ก)จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT)

 

จอภาพแบบซีอาร์ที

จอภาพแบบนี้จะใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นจอภาพที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอนคือการยิงแสง อิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ การผลิตจอภาพแบบซีอาร์ทีได้พัฒนาตลอดเวลา เช่น จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ (XVGA) เป็นรุ่นที่ปรับปรุงจากจอภาพสีละเอียดพิเศษ สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียดขนาด 1,024 x 768 จุดต่อตารางนิ้ว และแสดงสีได้มากกว่า 256 สีพิจารณารายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพ ซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทแยงมุมของจอว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเออาจแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (Multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด 0.28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด 0.33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณแถบความถี่จึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย

ข)จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD)

 

จอภาพแบบแอลซีดี

อ่านเพิ่มเติม

หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ

หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ


หน่วยประมวลผลกลางบางครั้งเรียกว่า CPU หรือ Processor ประกอบด้วยวงจรทางไฟฟ้ามากมายที่อยู่บนแผ่นซิลิกอนซึ่งมีขนาดที่เล็กมาก ๆ

Cpu AMD
Cpu pentium

หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลางมีดังต่อไปนี้
– อ่านและแปลคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
– ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
– รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล
– ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง

CPU ประกอบด้วย
1. หน่วยควบคุม หรือ CU
2. หน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา หรือ ALU

หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) มีหน้าที่
– ติดต่อสื่อสารกับ ALU และหน่วยความจำหลัก
– ตัดสินใจในการนำข่าวสารใดเข้าและออกจากหน่วยความจำหลัก
– กำหนดเส้นทางการส่งข่าวสารจากหน่วยความจำไปยัง ALU และจาก ALU ไปยังหน่วยความจำหลัก
– ถอดรหัสว่าจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไร
– ควบคุมการถอดรหัสให้เป็นไปตามขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา

ALU ทำหน้าที่ 2 อย่าง
– การดำเนินงานเชิงเลขคณิต
– การดำเนินงานเชิงตรรกวิทยา
รีจีสเตอร์ (Register) คือ แหล่งที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว มีลักษณะคล้ายกับหน่วยความจำ แต่มันจะถูกแยกออกมาต่างหาก รีจีสเตอร์จะเป็นแหล่งเก็บข้อมูลแบบพิเศษที่ทำให้ CPU สามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้เร็วกว่าหน่วยความจำธรรมดา

รีจีสเตอร์อยู่ใน CPU และถูกจัดการโดย CU ถ้าแบ่งรีจีสเตอร์ตามหน้าที่จะแบ่งได้เป็น
1. Accumulator Register ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์จากการคำนวณ
2. Instruction Register ทำหน้าที่เก็บคำสั่งในโปรแกรมที่กำลังจะถูกประมวลผล
3. Address Register ทำหน้าที่เก็บที่อยู่ (address) ของคำสั่งหรือชิ้นข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ
4. Storage Register ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามาจากหน่วยความจำ หรือผลลัพธ์จากการประมวลผลที่ถูกส่งไปเก็บยังหน่วยความจำ
5. General-purpose Register ใช้ทำงานหลายอย่าง แล้วแต่โปรแกรมจะเรียกใช้

**รีจีสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่กำลังถูกประมวลผล ณ ปัจจุบัน แต่หน่วยความจำใช้เก็บข้อมูลที่จะถูกเรียกใช้ในอนาคตอันใกล้        **ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะถูกใช้เก็บข้อมูลที่อาจถูกเรียกใช้ได้ ในภายหลัง

อ่านเพิ่มเติม

องประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับเข้า

 หน่วยรับเข้า

จากรูปแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับเข้าเป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความ จำหลัก และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท

1. แผงแป้นอักขระ (keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยรับข้อมูลจากการกดแป้นบนแผงแป้นอักขระ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์ แผงแป้นอักขระมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้มีจำนวนแป้น 103 แป้น ถึงแม้จะมีจำนวนแป้นมากแล้ว แต่การป้อนข้อมูลก็ยังมีตัวยกแคร่ (shift) สำหรับใช้ควบคู่กับตัวอักษรอื่น เช่น กดแป้น shift เพื่อเลือกตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แผงแป้นอักขระที่ใช้ในประเทศไทยสามารถใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยได้ การที่รับข้อมูลภาษาไทยได้เนื่องจากมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ทำงานภาษาไทยได้

แผงแป้นอักขระคอมพิวเตอร์ขนาด 103 แป้น

แป้นพิมพ์แบบพิเศษ ทำงานโดยฉายภาพแป้นพิมพ์ลงที่พื้นผิว และจะใช้ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังกดแป้นใดอยู่ จากนั้นจะส่งข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไป

2. เมาส์ (mouse) แทร็กบอล (trackball) และก้านควบคุม (joystick)  การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะเน้นให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่าย จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์รับเข้าที่เหมาะสมกับโปรแกรม เช่น เมาส์  แทร็กบอล  และก้านควบคุม ซึ่งสามารถเลื่อนตัวชี้ไปบนจอแล้วเลือกสิ่งที่ต้องการได้

เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถเลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไปกับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแนวแกน x และแกน y เข้าสู่คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเมาส์มีหลายรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามความต้องการ

แทร็กบอล คือลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้า ผู้ใช้สามารถบังคับลูกกลมให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมการทำงานของตัวชี้บนหน้าจอ คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้ และใช้พื้นที่น้อย

ก้านควบคุม มีลักษณะเป็นก้านโยกซึ่งโยกได้หลายทิศทาง ขณะที่โยกก้านไปมาตำแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณ

อ่านเพิ่มเติม

ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี

ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ย่อมเกิดผลกระทบจากเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของ มนุษย์นั้นมีมากมาย ทั้งในเรื่องของการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและเรื่องอื่นๆ แต่ประเด็นที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องของจริยธรรมในการใช้ เทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากในโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนอาจทำให้ข้อมูลสารสนเทศที่ ได้รับมีเนื้อหาทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ของสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งอาจทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งเนื้อหาของสารสนเทศที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นเรื่องยากที่จะควบคุม มิให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกลไกของรัฐกำลังพยายามเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวแต่ก็มี ข้อจำกัดในหลายๆ ประการที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ทั้งหมด ทางออกของการแก้ไขปัญหาดูเสมือนหนึ่งว่าจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับ ประเด็นทางจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์มากกว่าเพื่อการ ทำลาย ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องทางจริยธรรมคงจะเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ไข ปัญหาในเรื่องดังกล่าวได้ในระยะยาว

ประเด็นสำคัญทางด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่พบบ่อยครั้ง ดังเช่นตัวอย่างนี้

  • การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม มีจำนวนมากขึ้น อาทิ เว็บไซต์ลามกอนาจาร เว็บไซต์บริการทางเพศ เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนัน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเว็บไซต์ที่ขายของผิดกฎหมายหรือละเมิด ลิขสิทธิ์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอย่างทั่วถึงเป็นไปได้ยาก
  • เว็บแคม (webcam) หรือ เว็บแคเมรา (web camera) เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณภาพผ่านทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานผ่านทางอินเตอร์ เน็ต โดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเห็นภาพกันและกันขณะพูดคุย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการประชุมออนไลน์ แต่ขณะเดียวกัน เว็บแคมก็เป็นสื่อที่ใช้ในการชมและถ่ายทอดกิจกรรมทางเพศ หรือแสดงลามกทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น
  • อาชญากรคอมพิวเตอร์ เช่น แฮกเกอร์ (Hacker) บางคนที่พยายามหาวิธีการหรือช่องโหว่ของระบบ เพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับหรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร อาทิ ลักลอบใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ลบรายชื่อผู้ใช้งานในระบบ และบางครั้งมีการทำลายข้อมูลข่าวสารหรือทำความเสียหายให้กับองค์กร
  • การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปสร้างความเสียหายต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายทำงานช้าลง ติดตั้งโปรแกรมที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์

โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีของโลกในยุคปัจจุบันที่สามารถเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับแคบลง ระยะทางซึ่งแต่เดิมคืออุปสรรคสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ ชาติกลับไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไปทำให้มนุษย์ในแต่ละสังคมต่างเรียนรู้ซึ่งกัน และกันได้มากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ผู้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ ใด หากรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสร้างสรรค์และรู้เท่าทัน ย่อมส่งผลให้มนุษย์ในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

ภัยร้ายของการใช้เทคโนโลยีที่ไม่พึงประสงค์

อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อบันเทิงที่รวดเร็วและเปิดกว้างเสรี แต่ “จุดอ่อน” ของโลกออนไลน์ที่กลายเป็นเวทีของ การ “ทำร้าย” ผ่านข้อมูลในลักษณะ แฉ ประจาน หรือ ใส่ร้าย ได้ก่ออิทธิพลมืดในสังคม

ตัวอย่างเหตุการณ์ใหม่ๆ มีทั้งการแพร่คลิปแอบถ่าย นักร้องสาวโฟร์-มด มาจน ถึงคลิปส่วนตัวของดาราหนุ่ม อ้น สราวุฒิ นอกจากนี้ ยังมีกรณีในประเทศของเอเชีย อย่างภาพลับ เฉินก้วนซี ซูเปอร์ สตาร์ฮ่องกง คลิปสวาทนางเอกสาวเวียดนาม เหวียน ถวี่ลิงห์ และเว็บบอร์ดแพร่ข่าวเม้าธ์โจมตีนางเอกเกาหลีใต้ ชอย จินซิล ที่กลายเป็นปมให้ดาราสาวฆ่าตัวตาย

ไม่เพียงดาราเท่านั้น คนธรรมดาทั่วไปก็ถูก “เล่นงาน” ในลักษณะ เดียวกัน แม้ไม่ได้เป็นข่าวแพร่สะพัด แต่ก็ถูก “อาวุธ” ของเทคโนโลยีนี้ทำร้ายบาดเจ็บเช่นกัน

ที่สำคัญก็คือ เหยื่อส่วนใหญ่เป็น “ผู้หญิง”

พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้หญิงต้องศึกษาหา ความรู้เรื่องไอทีบ้าง ว่ามีอะไรที่นำมาสู่ความเสี่ยงบ้าง เวลาที่ไปไหน ต้องดูว่าเป็นสถานที่อโคจรหรือไม่ สภาพแวดล้อมไว้ใจได้ไหม บุคคลที่ไปด้วยเป็นอย่างไร เราเองต้องใช้วิจารณญาณ

ภาพโป๊หรือคลิป โดยมากเป็นเรื่องที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นและท้าทายความคิดในคนบางวัย ทำให้อยากดูและที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด ขณะเดียวกัน กระแสข่าวทำให้คลิปมีสีสันมากขึ้น คนที่ไม่รู้ก็อยากดู เพราะจะได้อินเทรนด์ตามสมัยแต่ดูแล้วก็ผ่านไป ไม่มีอะไร แต่ถ้าข่าวนำเสนอนานๆ คลิปเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่

ขณะเดียวกัน บ้านเมืองคงต้องดูแลสิ่งเหล่านี้ ค่านิยมทางสังคม การทำร้ายด้วยวิธีการแบบนี้ ทั้งการถ่ายและการเผยแพร่ ถ้าเป็นตัวเรา คนในครอบครัวหรือคนที่เรารักแล้วจะรู้สึกอย่างไรความเห็นอกเห็นใจก็น่าจะเกิดขึ้น